วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 11
วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)
แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546 ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่

  1. กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 
  2. สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
  3. การออกแบบกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ศึกษาเพิ่มเติม : แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย


กิจกรรมภายในห้องเรียน

การทดลองที่ 1 การจม - การลอย

  1. แจกดินน้ำมันให้กับนักศึกษาคนละ 1 ก้อน โดยให้แถวที่ 1 และแถวที่2 ปั้นดินน้ำมันให้เป็นก้อนกลมๆ นำดินน้ำมันที่ปั้นเสร็จเรียบร้อยไปลอยในตู้ที่จัดเตรียมไว้ให้แล้วสังเกตผลว่าเป็นอย่างไร
  2. ส่วนแถวที่ 3,4,5 และแถวที่ 6 ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปแบบใดก็ได้ ไม่ให้จม 
  3. นักศึกษาได้สังเกตว่าเป็นเพราะเหตุใดดินน้ำมันถึงลอยน้ำได้


วิดีโอศึกษาเพิ่มเติม : ดินน้ำมันจมน้ำได้อย่างไร


การทดลองที่ 2 การดูดซึม

  1. ให้นักศึกษาตัดกระดาษให้เป็นรูปดอกไม้แบบใดก็ได้ พร้อมตกแต่ง
  2. จับกลับของดอกไม้ที่วาดเสร็จเรียบร้อยแล้ว มาจับให้ให้ตูมและพับลงให้พอดี
  3. นำดอกไม้ของเราไปลอยให้น้ำ แล้วสังเกตผลที่เกิดขึ้น
  • ดอกไม้กระดาษลอยน้ำ (กระดาษ 100 ปอนด์)
กระดาษคลี่ออกช้า น้ำซึมซับเข้าไปในเยื่อที่มีความโปร่งอยู่แล้ว สีที่ตกแต่งเกิดการละลาย จึงทำให้เกิดการผสมสี

  •  ดอกไม้กระดาษลอยน้ำ (กระดาษ A4)
การดาษคลี่ออกไวมาก มีความสวยงามในขณะที่สีเกิดการผสมกัน
(เป็นการดูดซึม แบบต้นไม้) 
**ควรเลือกกระดาษหลายๆแบบ** 
- แบบซึมซับช้า
- แบบซึมซับไว 

 วิดีโอศึกษาเพิ่มเติม : ดอกไม้กระดาษลอยน้ำ


การทดลองที่ 3 แรงดันอากาศ

  1. เทน้ำใส่ขวดน้ำพลาสติกที่เตรียมมา โดยเจาะรูไว้ 3 รู คือ ส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนล่างพร้อมปิดรูด้วยสก๊อตเทป
  2. อาจารย์ให้นักศึกษาลองทายดูว่า รูส่วนตรงไหนที่น้ำไหลแรงสุด
  3. โดยเริ่มเปิดจากรูบนก่อน จากนั้นรูที่ 2 และรูที่ 3
  4. ผลปรากฏว่าเป็นรูที่ 3 ไหลแรงสุด เพราะเกิดจากแรงดันอากาศด้านบนที่เราได้ปล่อยน้ำไป จึงทำให้อากาศเข้ามาแทนที่




วิดีโอศึกษาเพิ่มเติม : แรงดันอากาศ


การทดลองที่ 4 กาลักน้ำ


วิดีโอศึกษาเพิ่มเติม : กาลักน้ำ


การทดลองที่ 5 แก้วครอบเทียน


วิดีโอศึกษาเพิ่มเติม : แก้วครอบเทียน


การทดลองที่ 6 การหักเหของแสง


วิดีโอศึกษาเพิ่มเติม : การหักเหของแสง


การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ (ศิลปะสร้างสรรค์)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น