วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย : ศรีนวล  รัตนานันท์
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า :
  1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนก่อนและหลังการทดลอง
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติก่อนและหลังการทดลอง
  3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนกับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
การศึกษาครั้งนี้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกต อันเป็นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยให้แก่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางของครูในการพัฒนาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
  1. ประชากร : ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิงอายุระหว่าง 5 - 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2539 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี
  2. กลุ่มตัวอย่าง : กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษา เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิงอายุระหว่าง 5 - 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2539 โรงเรียนวัดวังกุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน แล้วจับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคลุม กลุ่มล่ะ 15 คน
  3. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง : การทดลองครั้งนี้กระทำระหว่างภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2539 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที
  4. ตัวแปรศึกษา :

         4.1. ตัวแปรอิสระ คือ รูปแบบการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์ ได้แก่
  • การจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน
  • การจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ
        4.2.  ตัวแปรตาม คือ ทักษะการสังเกตในด้านคุณลักษณะ การกะประมาณและการเปลี่ยนแปลง

นิยามศัพท์เฉพาะ
  1. การจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์
  2. ทักษะการสังเกต
  3. เด็กปฐมวัย
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
  1. แผนการจัดประสบการณ์ ดังนี้
  • แผนการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน

  • แผนการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ
     2.  แบบการประเมินทักษะการสังเกต


ตัวอย่าง แผนการสอน
"หน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้"

ประกอบไปด้วย 3 กิจกรรม คือ
  1. แว่นขยายเห็นชัดแจ้ง
  2. แสงเป็นอย่างไร
  3. เสียงในธรรมชาติ

ครั้งที่ 1 กิจกรรม"แว่นขยายเห็นชัดแจ้ง"
จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกตในด่าน
- ลักษณะของแว่นขยายกับการส่องวัตถุ
- การกะประมาณขนาดของวัตถุ
สถานที่ บริเวณพื้นที่รอบอาคารเรียน
อุปกรณ์   1. แว่นขยายสำหรับเด็ก 3 คนต่อ 1 อัน
                 2. กระดาษสำหรับบันทึกภาพ
                 3. ดินสอสี
วิธีทำกิจกรรม

  1. ครูแนะนำกิจกรรมโดยกล่าวว่า "ครูจะพาเด็กๆ ออกไปสำรวจธรรมชาติรอบๆอาคารเรียนและให้เด็กๆ ใช้แว่นขยายส่องดูสิ่งที่น่าสนใจ"
  2. เด็กปฏิบัติการโดยใช้ประสาทสัมผัส
2.1. สำรวจบริเวณที่สนใจใช้แว่นขยายส่องดูรายละเอียดของสิ่งของต่างๆที่พบ
2.2. ใช้แว่นขยายส่องดูหิน ก้อนหิน ใบไม้ ดอกไม้ แมลง และอื่นๆ เพื่อดูลักษณะ รูปร่าง ส่วนประกอบให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
2.3. สังเกตขนาดของของจริงที่มองด้วยตาเปล่าและการใช้แว่นขยายส่องโดยการวาดภาพเปรียบเทียบ
     3.  ขณะที่เด็กทำกิจกรรม ครูใช้คำถามประกอบการสังเกตดังนี้
- เด็กๆใช้แว่นขยายส่องดูอะไรบ้าง
- แว่นขยายทำให้เด็กมองเห็นวัตถุของจริงเป็นอย่างไร
- ขนาดของวัตถุของจริงที่มองเห็นตาเปล่าและมองโดยการใช้แว่นขยายส่อง มีขนาดเป็นอย่างไร
     4.  สรุป
หลังปฏิบัติกิจกรรมแล้ว เด็กและครูร่วมกันสนทนาถึงผลการสังเกตจากกิจกรรม




สรุปรายการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 
ตอน ย้ายตู้ใหญ่ง่ายนิดเดียว


  • ลองให้เด็กๆดันกล่องที่บรรจุหนังสือจนเต็ม เด็กๆก็จะบอกว่าหนัก,ดันไม่ได้เลย มันไม่ขยับ จากนั้นก็ลองให้เด็กหาวัตถุที่คล้ายกับลูกล้อของเก้าอี้ภายในห้องเรียน เด็กๆก็เจอลูกกอล์ฟที่จะนำมาใช้เลื่อนกล่องหนังสือ คุณครูก็จะใช้คำถามกับเด็กๆว่า ลูกกอล์ฟมีลักษณะเป็นอย่างไร เด็กก็จะบอก มันหนัก,ผิวขรุขระ เป็นต้น
  • ระหว่างที่เรามีลูกกอล์ฟกับไม่มีลูกกอล์ฟแบบไหนที่กล่องเคลื่อนที่ได้ง่ายกว่ากัน
          - เด็กบอกมีลูกกอล์ฟ เพราะว่าลูกกอล์ฟมันอยู่ใต้กล่องทำให้กล่องเคลื่อนที่ได้เร็วโดยไม่เสียแรง
- ก็เพราะว่ามันสามารถขยับเป็นวงกลมและก็ไปได้ง่ายขึ้น
สรุป
        ตัวช่วยที่สามารถทำให้กล่องหนักๆเคลื่อนที่ได้ง่ายขึ้น นั่นก็คือลูกกอล์ฟ เพราะลูกกอล์ฟนั้นช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างกล่องกับพื้นทำให้กล่องไม่ต้องสัมผัสกับพื้นโดยตรง แต่สัมผัสกับลูกกอล์ฟ ที่มีลักษณะกลมและกลิ้งไปมาแทน



สรุปบทความ

เรื่องไม่เล็กของเด็กชายขอบ 
กับการสร้างกระบวนการเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการ


  • สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ริเริ่ม “โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย” มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 เพื่อร่วมเป็นกำลังสนับสนุนโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้แนวทางการจัดอบรมครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ให้มีทักษะการจัดกิจกรรม บูรณาการสหวิชา ตลอดจนสนับสนุนสื่ออุปกรณ์การศึกษาต่าง ๆ เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ของเด็ก
  • “วิทยาศาสตร์ คือ กระบวนการแสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งครูสามารถใช้สิ่งแวดล้อมรอบตัว มาสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนโดยไม่ต้องมีห้องทดลองหรืออุปกรณ์ไฮเทคใด ๆ ขอเพียงให้เด็กได้ฝึกฝนกระบวนการคิดวิเคราะห์ การสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ และสรุปความรู้ ซึ่งเด็กสามารถนำไปใช้แก้ปัญหากับทุกเรื่องที่ต้องเผชิญต่อไปในอนาคต” ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าว
ผ่านกระบวนการสืบเสาะ  4  ขั้นตอน
  1. การตั้งคำถาม 
  2. การสำรวจตรวจสอบ 
  3. การตอบคำถาม 
  4. นำเสนอผลการสำรวจตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง
พัฒนาการเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ อย่างชัดเจนถึง 4 ด้าน
ภายหลังนำโครงการนี้เข้ามา คือ 
  1. ด้านร่างกาย เด็กมีการเคลื่อนไหว ตื่นตัวต่อการเรียนรู้ตลอดเวลา
  2. ด้านสังคม เด็กมีการทำงานร่วมกัน มีพัฒนาการทางสังคมในการอยู่ร่วมกัน รู้จักเคารพกฎ-กติกา 
  3. ด้านครอบครัว มีการพูดคุย และเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเด็กและผู้ปกครอง
  4. ด้านสติปัญญา เด็กค้นหาและค้นพบองค์ความรู้ด้วยตัวเอง แทนที่จะรอครูบอกเพียงอย่างเดียว
  • กิจกรรม ตามหาใบไม้...ที่บ้านแม่สลิดหลวงวิทยา
         กิจกรรมการเรียนรู้จากใบไม้ที่โรงเรียนบ้านสลิดหลวงวิทยา ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นตัวอย่างหนึ่งของกิจกรรมบูรณาการที่ให้เด็ก ๆ ได้ฝึกการสังเกตและวาดภาพใบไม้ ต่อยอดสู่การเรียนรู้เรขาคณิตจากรูปทรงของใบไม้ ตลอดจนช่วยกันคิดค้นเทคโนโลยีในการพิมพ์ลายใบไม้ให้เป็นศิลปะบนผืนผ้าอย่าง ง่าย ๆ 
        “เดิมเด็กไม่ได้ลงมือปฏิบัติก็ไม่ค่อยสนใจเรียน เสียสมาธิง่าย อีกอย่างเด็กอนุบาลที่นี่เป็นเด็กชาวเขา 100 เปอร์เซนต์ ครูก็สื่อสารยากเพราะไม่เข้าใจภาษาถิ่น เด็กก็ไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องมีครูภาษาถิ่นเข้ามาช่วย โชคดีที่มีเด็กบางคนรู้ทั้งสองภาษาก็จะช่วยเพื่อน บางทีก็ช่วยครูด้วยเหมือนกัน” ครูโสรดา พลเสน คุณครูอนุบาล 2/1 เล่าให้ฟังถึงปัญหาที่ผ่านมา “แต่พอนำเอาวิธีการสอนของสสวท. มาใช้ เราก็บูรณาการวิชาภาษาไทยเพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งวิชา ทำให้เด็ก ๆ มีปฏิสัมพันธ์กับครูมากขึ้น กระตือรือล้น กล้าคิด กล้าแสดงออกมากกว่าเดิมที่ต้องรอให้ครูบอกเพียงอย่างเดียว”
  • กิจกรรมแม่ละเมา...เขาชวนล่องแก่ง
         อีกหนึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กชายขอบให้สามารถ “ล่องแก่งอย่างไรให้ปลอดภัย” ซึ่งสอนเด็ก ๆ รู้จักและเรียนรู้ถึงประโยชน์อุปกรณ์ที่ใช้ในการล่องแก่ง เช่น ไม้พาย หมวกกันน็อค เสื้อชูชีพ และวิธีการล่องแก่งที่ปลอดภัย จากการสังเกต คิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ซึ่งไม่เพียงเป็นการสอดแทรกความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศิลปะแล้ว ยังปลูกฝังแนวทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และรักในถิ่นเกิดของตนเอง
  • เรื่องไม่เล็กของเด็กชายขอบ กับการสร้างกระบวนการเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการ
สำคัญเพราะ พื้นฐานจัดกิจกรรม หรือความรู้จิตวิทยาเด็ก ต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 6 กิจกรรมหลัก (ได้แก่ กิจกรรมการเคลื่อนไหว กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเกมส์การศึกษา และกิจกรรมเสริมจากสสวท.) เป็นแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเสริมเข้าไปใน 6 กิจกรรมหลักที่มีอยู่แล้ว ส่งผลให้ครูมีองค์ความรู้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถต่อยอดกิจกรรมตามสภาพแวดล้อมและภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตนเพื่อพัฒนาความรู้ของพ่อแม่ผู้ปกครองโดยให้มาเรียนรู้ร่วมกับเด็ก ซึ่งโรงเรียนจะคอยติดตามว่า ผู้ปกครองได้นำกิจกรรมไปกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กที่บ้านหรือไม่