วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทึกครั้งที่ 3



บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่ม 101

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ.2557

เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ

รูปแบบการเรียนเด็กปฐมวัย


           คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 - 5 ปี กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546


  • ธรรมชาติของเด็ก (3 - 5 ปี)
  1. พอใจกับคนที่ตามใจ
  2. มีช่วงความสนใจสั้น ประมาณ 8 - 10 นาที
  3. สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
  4. อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
  5. ชอบถาม "ทำไม" ตลอดเวลา
  6. ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
  7. ช่วยตนเองได้
  8. ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
  9. พูดประโยคยาวขึ้น
  10. ร้องเพลงง่ายๆ แสดงท่าทางเลียนแบบ

  • ทฤษฎีการเรียนรู้

1. การทดลองของ Pavlov (การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค)


2. การทอลองของ Watsons (การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน) ความรู้สึกบางอย่างที่มาตั้งแต่กำเนิด เช่น ความรัก ความโกรธ ความกลัว เป็นต้น


3. Pestalozzi (แนวการสอนจะเน้นในเรื่องประสบการณ์)



4. Froebel บิดาแห่งปฐมวัย “เด็กเปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการการพัฒนาให้งอกงามทั้งสติปัญญาร่างกาย จิตใจและสังคม การจัดการศึกษาที่ดี ต้องส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เต็มศักยภาพในทุกด้านอย่างมีความหมาย”

5. El - Kant (เป็นนักศึกษารุ่นใหม่) เด็กควรมีโอกาสเล่นและการเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง การเรียนรู็อย่างมีความสุข


สรุป...
       หลักการจัดการศึกษากปฐมวัย พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดจะต้องมีความสมดุลยึดเด็กเป็นสำคัญและต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน




การนำไปประยุกต์ใช้
  1. นำไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวัยของเด็กปฐมวัยตามพัฒนาการให้ครบทั้ง 4 ด้าน
  2. สามารถนำไปบูรณาการกับวิชาอื่นๆได้ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตสาสตร์ และภาษาไทย
  3. นำทฤษฎีต่างๆมาส่งเสริมและพัฒนาการกับเด็กได้

การประเมินการสอน
  • ประเมินตนเอง : 85% เข้าเรียนสาย ตั้งใจเรียนจดบันทึกเนื้อหาที่อาจารย์ได้ถ่ายทอดสู่นักศึกษา แต่บรรยากาศในห้องรียนตึงเครียดทำให้กดดัน
  • ประเมินเพื่อน : 88% เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถามบ้าง มีปรึกษากันหลังคาบการเรียนการสอน
  • ประเมินอาจารย์ : 92% เข้าสอนตรงต่อเวลา เทคนิคในการสอนดี แต่อาจทำให้นักศึกษาเบี่ยงเบนความสนใจ น่าจะมีกิจกรรมภายในห้องเรียน

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่ม 101


อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ


วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2557


เวลาที่เรียน 08.30 - 12.20 น.





ความรู้ที่ได้รับ

  • เด็กกับวิทยาศาสตร์
         พัฒนาการและความหมาย โครงสร้างการเปลี่ยนแปลงใน 4 ด้าน เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องนำอายุของเด็กมากำกับ
  • นิยามพัฒนาการ คือ เป็นตัวบอกความสามารถของเด็ก จัดให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก
  • การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
  • วิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ คือ การเล่น โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีโอกาสเลือกด้วยตนเอง
  • การใช้ คือ นำไปจัดกิจกรรมให้สอดคล้อง ออกแบบ กับรายวิชา
  • การใช้คำถาม 

         - นึกถึงอะไร
         - ถามถึงประสบการณ์เดิม 
         - สรุป

**ทักษะทางคณิตศาสตร์และภาษาคือเครื่องมือในการเรียนรู้**
  1. เด็กสนใจ
  2. กล้ตัวเด็ก
  3. มีผลกระทบต่อเด็ก

เด็กปฐมวัย/การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  1. วิทยาศาสตร์อยู่รอบๆตัวเด็ก สามารถทดลอง ลงมือปฏิบัติให้เด็กได้เรียนรู้
  2. เลือกเรื่องที่เด็กสนใจออกแบบและตัดสินใจ
  3. การลงมือทำ เป็นทางการโดยต้องมีคุณครูคอยดูแล และไม่เป็นทางการจัดการเรียนรู้ผ่านการเล่น
ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก
  1. ปิดกั้นโอกาสการเรียนรู้โดยไม่ได้ความสนใจเกี่ยวกับคำถามของเด็ก
  2. ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
  3. ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม

สรุป...เด็กกับวิทยาศาสตร์เป็น Mind Map




การนำไปประยุกต์ใช้
  1. ส่งเสริมให้เด็กสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก
  2. ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
  3. ไม่ปิดกั้นโอกาสให้เด็กได้ซักถามความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไร

การประเมินการเรียนการสอน
  • ประเมินตนเอง : 80% เข้าเรียนสาย บรรยากาศภายในห้องตึงเครียด ทำให้ไม่ค่อยเข้าใจในเนื้อหาบ้างในบางช่วง  แต่ก็มีการปรึกษากับเพื่อน
  • ประเมินเพื่อน : 87% มีการโต้ตอบ แสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อนให้ความร่วมมือที่ดี
  • ประเมินอาจารย์ : 95% มาสอนตรงเวลา เอาใจใส่นักศึกษา มีตรวจสอบบล็อกทุกสัปดาห์ชี้แจงเป็นรายบุคคล















บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่ม 101

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์
จินตนา สุขสำราญ

วัน/เดือน/ปี วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคมคม พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น. 



ความรู้ที่ได้รับ

             เป็นสัปดาห์แรกที่อาจารย์ได้สอน ได้อธิบายเกี่ยวกับ Course Syllabus (แนวการสอน) ว่าการเป็นคุณครูนั้นต้องมี เช่น
  1. คุณธรรม จริธรรม คือ มีความซื่อสัตย์ มีวินัย มีสัมมาคารวะเคารพต่อครู อาจารย์ และผู้อาวุโส
  2. Knowledge (ความรู้) คือ รู้จักอธิบาย วิเคราะห์ วางแผนเกี่ยวกับ Science skills (ทักษะทางวิทยาศาสตร์)
  3. Intellectual skills (ทักษะทางปัญญา) คือ สามารถคิดและวางแผน ประยุกต์ความรู้ ประเมินปัญหา และสรุปองค์ความรู้
  4. Teachers with technology (ครูกับเทคโนโลยี) คือ กระบวนการเรียนรู้ใหม่ และเปลี่ยนแปลงความต้องการในการศึกษาในอนาคต สื่อ เป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ที่น่าสนใจ

งานที่ได้รับมอบหมาย



               อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนสร้าง Blogger โดยมีองค์ประกอบดังนี้
ให้นักศึกษาทุกคนใส่เนื้อหาที่เรียนเป็น (Mind Map) การนำไปประยุกต์ใช้ และประเมินตนเอง ตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  1. ชื่อและคำอธิบายบล็อก
  2. รูปและประวัติส่วนตัว
  3. ปฎิทินและนาฬิกา
  4. เชิ่อมโยงบล็อก

         - อาจารย์ผู้สอน

         - หน่วยงานสนับสนุน
         - รายชื่อเพื่อน
         - งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์
         - บทความ
         - สื่อ (เพลง,เกม,นิทาน,แบบฝึกหัด,ของเล่น)    
         - สถิติผู้เข้าชม
** ทุกหัวข้อที่สำคัญขอให้เป็นภาษาอังกฤษ **


การนำไปประยุกต์ใช้
  1. เกิดความรู้ ความคิดโดยฝึกการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล การใฝ่หาความรู้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้เหมาะสม
  2. ได้กระตุ้นในการพัฒนาด้านความคิด สติปัญญา ความจำในเรื่องการใช้คำศัพท์ที่เป็นภาษาอังกฤษที่เราคุ้นเคย
  3. การใช้สื่อ เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดประโยชน์