วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 7

วันที่  2 ตุลาคม พ.ศ. 2557



**เนื่องจากดิฉันติดธุระจึงไม่มามาเรียน**
แต่ศึกษาจาก นางสาวธนภรณ์  คงมนัส

ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)
  • ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism : Cink
อาจารย์ให้ทำของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ทำจากแกนกระดาษทิชชู
 อุปกรณ์ (Equipment)
1. กระดาษสี (Color Paper)


2. กรรไกร (Scissors)


3.ไหมหรม (Yarn)


4.แกนกระดาษทิชชู (Tissue Paper)


5.กาว (Glue)


วิธีทำ (How to)
1.นำแกนกระดาษทิชชูมาตัดแบ่งครึ่ง



2.นำที่เจาะกระดาษ เจาะรูข้างละ 2 รู




3.ร้อยไหมพรมผ่านรูทั้ง 4 รู




4.วาดรูปสัตว์ลงในกระดาษสี




5.นำรูปที่วาดเสร็จเรียบร้อย มาติดกาวและปะลงที่แกนกระดาษทิชชู




วิธีการเล่น (How to play)


นำเสนอบทความ ( Science Articles )
บทความที่ 16
1.เรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์ "เป็ด" และ "ไก่" : Cick
บทความที่ 17
2.เรื่อง จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ...สนุกคิดกับของเล่นวิทยาศาสตร์ : Cick
บทความที่ 18
3.เรื่อง สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ (Natural Phenomena) : Cick
บทความที่ 19
4.เรื่อง สอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about Weather) : Cick

สรุปบทความ Mild Map ดังนี้

เทคนิคการสอน (Teaching methods)
  1. ให้ลงปฏิบัติด้วยตนเอง
  2. เปิดโอกาศให้ถามคำถาม
  3.  การสอนในเรื่องของการอภิปาย
การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications) 
  1. เนื้อหาในการสอนต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
  2. สามารถนำมาบูรณาการในวิชาอื่น
  3. นำสิ่งของเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นที่เกิดประโยชน์


วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 6

วันที่  25 กันยายน พ.ศ. 2557



ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)
  • อาจารย์สอนทำ ของเล่นวิทยาศาสตร์ (Sciencetoy) คือ ลูกยางกระดาษ เกี่ยวกับการเอากระดาษมาตัดแล้ว ให้โยนขึ้น สังเกต (notice) ว่าถ้าตัดสั้นแล้วจะหมุนแบบไหน ถ้าตัดยาวแล้วจะหมุนแบบไหน 
อุปกรณ์ (Equipment)
1. กระดาษสี (Color Paper)



2. คลิปหนีบกระดาษ (Paperclip)



3. กรรไกร (Scissors)



  • วิธีทำ (How to)
อาจารย์ได้แบ่งให้แถวที่ 1 และ 2 ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.  นำกระดาษมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2.  พับครึ่งของกระดาษลงมา



3.  พับครึ่งของกระดาษลง โดยถึงจากที่พับไปครั้งแรก
4.  ใช้กรรไกรตัดกระดาษ ตามรูป



5.  พับส่วนที่เหลือเก็บให้เรียบร้อย และใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบ


Experiment (การทดลอง)
สาเหตุ : เกิดแรงโน้มถ่วงของตัดปีกสั้น และทำให้หนักในส่วนล่างลูกยางกระดาษที่หนีบคลิปกระดาษไว้ จนทำให้ลูกยางนั้นหมุนเป็นเกียวได้
อาจารย์ได้แบ่งให้แถวที่ 3,4 และ 5 ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.  นำกระดาษมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2.  พับครึ่งของกระดาษลงมา
3.  ตัดกระดาษมาถึงที่พับครึ่ง ดังภาพ
4.  พับส่วนที่เหลือเก็บให้เรียบร้อย และใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบไว้


Experiment (การทดลอง)

สาเหตุ : ปีกที่ยาว มีแรงเหวี่ยงเกิดการต้านทานของอากาศ ทำให้ล่วงหรือตกลงมาไว



นำเสนอบทความ ( Science Articles )
บทความที่ 11
1. เรื่อง  แสงสีกับชีวิตประจำวัน : เพิ่มเติม
  • แม่สี มีทั้งหมด 3 สี ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียว มาจากสีของดวงอาทิตย์ ใบไม้ดูดกลืน สีแดง สีน้ำเงิน แต่ไม่ดูดแสงสีเขียวเพราะมีคลอโรฟิลล์
  • ถ้าวัตถุสีอะไรมันดูดสีนั้นหรือสะท้อนกลับ
บทความที่ 122. เรื่อง เงามหัศจรรย์ต่อสมอง : เพิ่มเติม
  •  ดร.วรนาท รักสกุลไทย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (แผนกอนุบาล)
  • เงา คือส่วนที่มืดจึงทำให้เกิดแสง เด็กจะกลัวความมืดเพราะจะสร้างจินตนาการให้ตนเอง คุณครูอาจพาเด็กๆทำจึงที่เกี่ยวกับเงา เพื่อให้เด็กๆคลายความกลัว
  • ทดลองจัดกิจกรรมให้เด็กเกี่ยวกับเงา
1.  จัดนิทาน เช่น หนังตลุง
2. ยืน ที่ต่างเวลาทำให้เกิดผลที่แตกต่างกัน
  • การจัดกิจกรรมที่หลากหลายตอบสนองกับความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก คือวิธีการเรียนรู้ ทิศทาง มิติสัมพันธ์ เวลากับเงาตำแหน่งของดวงอาทิตย์กับเงา นิทานทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ภาษา ส่งผลข้อมูลไปให้สมอง
บทความที่ 13
3. เรื่อง  (Teaching Children about Environment Conservation) สอนลูกช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม : เพิ่มเติม
  • การใช้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวของคนเราอย่างฉลาด และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่น สัตว์ พืช อากาศ ภูเขา ฯลฯ 
  • สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนและบ้าน
  • สภาพแวดล้อมภายนอก
  • สภาพแวดล้อมโดยตรง เช่น กำจัดขยะ,ปลูกต้นไม้
ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลก **พึ่งพาอาศัยกัน**

บทความที่ 14
4. เรื่อง  วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย : เพิ่มเติม
  • เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน  เช่น  รู้สี  รู้รูปร่าง  โดยรู้ทีละอย่าง  จะเรียนรู้สองอย่างพร้อมกันไม่ได้  หรือเอามาผนวกกันไม่ได้  
  • สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น  4  หน่วย  ดังนี้  (สตาเคิล,  2542  :  12)
    หน่วยที่  1     การสังเกตโลกรอบตัว
    หน่วยที่  2     การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
    หน่วยที่  3     รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
    หน่วยที่  4     การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
บทความที่ 15
5. เรื่อง  การทดลองวิทยาศาสตร์ : เพิ่มเติม
  • เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการเล่น การปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และจากการได้ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ เช่น การฟัง การเห็น การชิมรส การดมกลิ่น การสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ
  • ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science skills) 
  1. ทักษะการสังเกต (Observing)
  2. ทักษะการวัด (Measuring)
  3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
  4. ทักษะการสื่อสาร (Communicating)
  5. ทักษะการลงความเห็น (Inferring)
  6. ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)

  • ส่งเสริมให้คิดอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมทุกด้านของเด็ก
  • อย่างน้อย 1 กิจกรรม / 1 การเรียนรู้
  • การใช้คำถามของครูเป็นอีกอย่างที่สำคัญ


กิจกรรม : อาจารย์ให้นำ Mild Map ของนักศึกษาแต่ล่ะกลุ่มมาติดหน้าห้อง พร้อมได้ชี้แนะ ขั้นตอน การแตกประเด็นในหัวข้อ
กลุ่มที่ 1 : หน่วยข้าว (Rice)



กลุ่มที่ 2 : หน่วยไก่ (Chicken)



กลุ่มที่ 3 : หน่วยต้นไม้ (Trees)



กลุ่มที่ 4 : หน่วยน้ำ (Water)


กลุ่มที่ 5 : หน่วยปลา (Fish)



กลุ่มที่ 6 : หน่วยมะพร้าว (Coconut)



กลุ่มที่ 7 : หน่วยกล้วย (Banana)



กลุ่มที่ 8 : หน่วยนม (Milk)



กลุ่มที่ 9 : หน่วยกบ (Plane)



กลุ่มที่ 10 : หน่วยผลไม้ (Fruit) กลุ่มดิฉัน


  • อาจารย์ได้แนะนำให้มีหัวข้อ Mild Map (Fruit) ดังต่อไปนี้
  1. ชนิด
  2. ลักษณะ ได้แก่ สี,ขนาด
  3. การประกอบอาหาร
  4. ประโยชน์ ได้แก่ เชิงพาณิชย์ (Commercial)
  5. ข้อพึงระวัง



เทคนิคการสอน (Teaching methods)
  1. ให้ลงปฏิบัติทำสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์
  2. เปิดโอกาศให้ถามคำถาม
  3. มีวิธีการ ขั้นตอนการเขียน Mild Map ที่ถูกวิธี
การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications) 
  1. การหาเนื้อหาในการสอนต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
  2. สามารถนำมาบูรณาการในวิชาอื่น
  3. นำสิ่งของเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นที่เกิดประโยชน์
ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)
  • ตนเอง : 89% แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา ทำกิจกรรมได้เสร็จเรียบร้อยภายในเวลาที่จำกัด
  • เพื่อน : 90% ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและทุกคนสามารถทำออกมาได้ดี อาจมีพูดคุยบางในบางครั้ง ทำงานที่ได้รับมอบหมายมาทุกกลุ่ม
  • อาจารย์ : 98% เข้าสอนตรงเวลามาก มีกิจกรรมให้ทำอยู่เสมอ 



วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กิจกรรม
ความลับของแสง

  • แสงสว่างเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการมองเห็น หากดวงตาของเราปรับสภาพจากแสงไม่ได้ ให้หลับตาสักระยะหนึ่ง แสงเคลื่อนที่ 300,000  ก.ม / วินาที = คนเราที่ต้องวิ่งถึง 7 รอบ / วินาที
การทดลอง
วิธีทำ
  1. นำกล่องใบใหญ่มา 1 ใบ ที่มีฝาปิด
  2. เจาะรูข้างกล่อง 1 รู 
  3. นำของต่างๆมาใส่ในกล่อง เช่น ของเล่น รูปปั้นสัตว์ 
  4. ปิดฝากล่องและมองเข้าไปในรูที่เจาะไว้ จะเห็นว่ามันมือสนิท
  5. จากนั้นค่อยๆเปิดฝากล่องออกจะเห็นวัตถุในกล่อง
  6. ลองเจาะรูเพิ่มอีกหนึ่งรู แล้วเอาไฟฉายมาส่องไปที่รูที่เจาะใหม่เราจะมองเห็นของในกล่องใบนั้น
สาเหตุ
เรามองเห็นวัตถุรอบตัวได้นั้นเกิดจากแสงส่องลงมากระทบกับวัตถุ และแสงสะท้อนกับวัตถุเข้ามาสู่ตาของเรา เราถึงมองเห็นวัตถุนั้นได้ซึ่งตาของเรา คือ จอสำหรับรับแสงที่สะท้อนมาจากวัตถุนั่นเอง
คุณสมบัติของแสง
       แสงเดินทางเป็นเส้นตรง ไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง วัตถุบางชนิดที่แสงสามารถทะลุผ่านไปได้วัตถุ วัตถุบนโลกเมื่อมีแสงตกมากระทบจะมีคุณสมบัติ 3 แบบ ได้แก่
  1. วัตถุโปร่งแสง (Translucent object) วัตถุที่แสงผ่านไปได้อย่างไม่เป็นระเบียบ เราจึงไม่สามารถมองทะลุผ่านวัตถุนี้ได้ ตัวอย่างของวัตถุชนิดนี้ได้ ตัวอย่างของวัตถุชนิดนี้ ได้แก่ น้ำขุ่น กระจกฝ้า และกระดาษชุบไข 
  2. วัตถุโปร่งใส (Transparent object) วัตถุที่แสงผ่านไปได้เกือบหมดอย่างเป็นระเบียบ เราจึงสามารถมองผ่านวัตถุชนิดนี้ได้ชัดเจน ตัวอย่างของวัตถุชนิดนี้ ได้แก่ กระจกใส แก้วใส 
  3. วัตถุทึบแสง (Opaque object) เป็นวัตถุที่แสงผ่านไม่ได้เลย แสงทั้งหมดจะถูกดูดกลืนไว้หรือสะท้อนกลับ เราจึงไม่สามารถมองผ่านวัตถุชนิดนั้นได้ ตัวอย่างของวัตถุชนิดนี้ ได้แก่ ผนังตึกกระจกเงา 


กล้อง  (Camera) 
ทดลองการสะท้อนของแสง  
อุปกรณ์
  1. ไฟฉ่าย
  2. กระจกเงา
แสงจะสะท้อนกลับจากวัตถุ หากเราส่องกระจก เงาที่เกิดจากกระจกจะสะท้อนกลับไปที่ตาเราเสมอ ทำให้เรามองเห็นตรงข้ามกับตัวเราเสมอ


กล้องคาไลโดสโคป 
อุปกรณ์
  1. กระจกเงา 3 ใบ
  2. สิ่งของ 1 ชิ้น
วิธีทำ : นำกระจกนำมาประกบกันให้เข้าเป็นมุมสามเหลี่ยม เมื่อนำสิ่งของไปว่างตรงกลางทำให้มองเห็นภาพหลายภาพ ใช้หลักมุมกับแสง
กล้องส่องภาพเหนือระดับสายตา
อุปกรณ์
  1. กล่องทรงกระบอกยาว เจอะรู 2 รูใ นส่วนบนและล่าง   
  2. กระจกเงา 2 ใบ โดยติดอยู่ที่มุมกล่อง
ประโยชน์ : ใช้มองวัตถุในที่สูงเหนือระดับสายตา เช่น เรือดำน้ำ


แสงและเงา (Light & Shade)

  • แสงเมื่อส่องกระทบกับวัตถุจะทำให้เกิดเงา
  • แสงและเงาเป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก
  • ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่กับความเข้มของเแสง ในที่ที่มีแสงสว่างมาก เงาจะเข้มขึ้น 
  • ในที่ที่มีแสงสว่างน้อยเงาจะไม่ชัดเจน
  • ในที่ที่ไม่มีแสงสว่างจะไม่มีเงาและเงาจะอยู่ในทางตรงข้ามกับแสงเสมอ