วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย : ศรีนวล  รัตนานันท์
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า :
  1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนก่อนและหลังการทดลอง
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติก่อนและหลังการทดลอง
  3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนกับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
การศึกษาครั้งนี้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกต อันเป็นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยให้แก่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางของครูในการพัฒนาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
  1. ประชากร : ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิงอายุระหว่าง 5 - 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2539 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี
  2. กลุ่มตัวอย่าง : กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษา เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิงอายุระหว่าง 5 - 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2539 โรงเรียนวัดวังกุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน แล้วจับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคลุม กลุ่มล่ะ 15 คน
  3. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง : การทดลองครั้งนี้กระทำระหว่างภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2539 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที
  4. ตัวแปรศึกษา :

         4.1. ตัวแปรอิสระ คือ รูปแบบการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์ ได้แก่
  • การจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน
  • การจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ
        4.2.  ตัวแปรตาม คือ ทักษะการสังเกตในด้านคุณลักษณะ การกะประมาณและการเปลี่ยนแปลง

นิยามศัพท์เฉพาะ
  1. การจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์
  2. ทักษะการสังเกต
  3. เด็กปฐมวัย
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
  1. แผนการจัดประสบการณ์ ดังนี้
  • แผนการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน

  • แผนการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ
     2.  แบบการประเมินทักษะการสังเกต


ตัวอย่าง แผนการสอน
"หน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้"

ประกอบไปด้วย 3 กิจกรรม คือ
  1. แว่นขยายเห็นชัดแจ้ง
  2. แสงเป็นอย่างไร
  3. เสียงในธรรมชาติ

ครั้งที่ 1 กิจกรรม"แว่นขยายเห็นชัดแจ้ง"
จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกตในด่าน
- ลักษณะของแว่นขยายกับการส่องวัตถุ
- การกะประมาณขนาดของวัตถุ
สถานที่ บริเวณพื้นที่รอบอาคารเรียน
อุปกรณ์   1. แว่นขยายสำหรับเด็ก 3 คนต่อ 1 อัน
                 2. กระดาษสำหรับบันทึกภาพ
                 3. ดินสอสี
วิธีทำกิจกรรม

  1. ครูแนะนำกิจกรรมโดยกล่าวว่า "ครูจะพาเด็กๆ ออกไปสำรวจธรรมชาติรอบๆอาคารเรียนและให้เด็กๆ ใช้แว่นขยายส่องดูสิ่งที่น่าสนใจ"
  2. เด็กปฏิบัติการโดยใช้ประสาทสัมผัส
2.1. สำรวจบริเวณที่สนใจใช้แว่นขยายส่องดูรายละเอียดของสิ่งของต่างๆที่พบ
2.2. ใช้แว่นขยายส่องดูหิน ก้อนหิน ใบไม้ ดอกไม้ แมลง และอื่นๆ เพื่อดูลักษณะ รูปร่าง ส่วนประกอบให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
2.3. สังเกตขนาดของของจริงที่มองด้วยตาเปล่าและการใช้แว่นขยายส่องโดยการวาดภาพเปรียบเทียบ
     3.  ขณะที่เด็กทำกิจกรรม ครูใช้คำถามประกอบการสังเกตดังนี้
- เด็กๆใช้แว่นขยายส่องดูอะไรบ้าง
- แว่นขยายทำให้เด็กมองเห็นวัตถุของจริงเป็นอย่างไร
- ขนาดของวัตถุของจริงที่มองเห็นตาเปล่าและมองโดยการใช้แว่นขยายส่อง มีขนาดเป็นอย่างไร
     4.  สรุป
หลังปฏิบัติกิจกรรมแล้ว เด็กและครูร่วมกันสนทนาถึงผลการสังเกตจากกิจกรรม




สรุปรายการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 
ตอน ย้ายตู้ใหญ่ง่ายนิดเดียว


  • ลองให้เด็กๆดันกล่องที่บรรจุหนังสือจนเต็ม เด็กๆก็จะบอกว่าหนัก,ดันไม่ได้เลย มันไม่ขยับ จากนั้นก็ลองให้เด็กหาวัตถุที่คล้ายกับลูกล้อของเก้าอี้ภายในห้องเรียน เด็กๆก็เจอลูกกอล์ฟที่จะนำมาใช้เลื่อนกล่องหนังสือ คุณครูก็จะใช้คำถามกับเด็กๆว่า ลูกกอล์ฟมีลักษณะเป็นอย่างไร เด็กก็จะบอก มันหนัก,ผิวขรุขระ เป็นต้น
  • ระหว่างที่เรามีลูกกอล์ฟกับไม่มีลูกกอล์ฟแบบไหนที่กล่องเคลื่อนที่ได้ง่ายกว่ากัน
          - เด็กบอกมีลูกกอล์ฟ เพราะว่าลูกกอล์ฟมันอยู่ใต้กล่องทำให้กล่องเคลื่อนที่ได้เร็วโดยไม่เสียแรง
- ก็เพราะว่ามันสามารถขยับเป็นวงกลมและก็ไปได้ง่ายขึ้น
สรุป
        ตัวช่วยที่สามารถทำให้กล่องหนักๆเคลื่อนที่ได้ง่ายขึ้น นั่นก็คือลูกกอล์ฟ เพราะลูกกอล์ฟนั้นช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างกล่องกับพื้นทำให้กล่องไม่ต้องสัมผัสกับพื้นโดยตรง แต่สัมผัสกับลูกกอล์ฟ ที่มีลักษณะกลมและกลิ้งไปมาแทน



สรุปบทความ

เรื่องไม่เล็กของเด็กชายขอบ 
กับการสร้างกระบวนการเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการ


  • สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ริเริ่ม “โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย” มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 เพื่อร่วมเป็นกำลังสนับสนุนโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้แนวทางการจัดอบรมครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ให้มีทักษะการจัดกิจกรรม บูรณาการสหวิชา ตลอดจนสนับสนุนสื่ออุปกรณ์การศึกษาต่าง ๆ เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ของเด็ก
  • “วิทยาศาสตร์ คือ กระบวนการแสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งครูสามารถใช้สิ่งแวดล้อมรอบตัว มาสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนโดยไม่ต้องมีห้องทดลองหรืออุปกรณ์ไฮเทคใด ๆ ขอเพียงให้เด็กได้ฝึกฝนกระบวนการคิดวิเคราะห์ การสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ และสรุปความรู้ ซึ่งเด็กสามารถนำไปใช้แก้ปัญหากับทุกเรื่องที่ต้องเผชิญต่อไปในอนาคต” ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าว
ผ่านกระบวนการสืบเสาะ  4  ขั้นตอน
  1. การตั้งคำถาม 
  2. การสำรวจตรวจสอบ 
  3. การตอบคำถาม 
  4. นำเสนอผลการสำรวจตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง
พัฒนาการเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ อย่างชัดเจนถึง 4 ด้าน
ภายหลังนำโครงการนี้เข้ามา คือ 
  1. ด้านร่างกาย เด็กมีการเคลื่อนไหว ตื่นตัวต่อการเรียนรู้ตลอดเวลา
  2. ด้านสังคม เด็กมีการทำงานร่วมกัน มีพัฒนาการทางสังคมในการอยู่ร่วมกัน รู้จักเคารพกฎ-กติกา 
  3. ด้านครอบครัว มีการพูดคุย และเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเด็กและผู้ปกครอง
  4. ด้านสติปัญญา เด็กค้นหาและค้นพบองค์ความรู้ด้วยตัวเอง แทนที่จะรอครูบอกเพียงอย่างเดียว
  • กิจกรรม ตามหาใบไม้...ที่บ้านแม่สลิดหลวงวิทยา
         กิจกรรมการเรียนรู้จากใบไม้ที่โรงเรียนบ้านสลิดหลวงวิทยา ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นตัวอย่างหนึ่งของกิจกรรมบูรณาการที่ให้เด็ก ๆ ได้ฝึกการสังเกตและวาดภาพใบไม้ ต่อยอดสู่การเรียนรู้เรขาคณิตจากรูปทรงของใบไม้ ตลอดจนช่วยกันคิดค้นเทคโนโลยีในการพิมพ์ลายใบไม้ให้เป็นศิลปะบนผืนผ้าอย่าง ง่าย ๆ 
        “เดิมเด็กไม่ได้ลงมือปฏิบัติก็ไม่ค่อยสนใจเรียน เสียสมาธิง่าย อีกอย่างเด็กอนุบาลที่นี่เป็นเด็กชาวเขา 100 เปอร์เซนต์ ครูก็สื่อสารยากเพราะไม่เข้าใจภาษาถิ่น เด็กก็ไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องมีครูภาษาถิ่นเข้ามาช่วย โชคดีที่มีเด็กบางคนรู้ทั้งสองภาษาก็จะช่วยเพื่อน บางทีก็ช่วยครูด้วยเหมือนกัน” ครูโสรดา พลเสน คุณครูอนุบาล 2/1 เล่าให้ฟังถึงปัญหาที่ผ่านมา “แต่พอนำเอาวิธีการสอนของสสวท. มาใช้ เราก็บูรณาการวิชาภาษาไทยเพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งวิชา ทำให้เด็ก ๆ มีปฏิสัมพันธ์กับครูมากขึ้น กระตือรือล้น กล้าคิด กล้าแสดงออกมากกว่าเดิมที่ต้องรอให้ครูบอกเพียงอย่างเดียว”
  • กิจกรรมแม่ละเมา...เขาชวนล่องแก่ง
         อีกหนึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กชายขอบให้สามารถ “ล่องแก่งอย่างไรให้ปลอดภัย” ซึ่งสอนเด็ก ๆ รู้จักและเรียนรู้ถึงประโยชน์อุปกรณ์ที่ใช้ในการล่องแก่ง เช่น ไม้พาย หมวกกันน็อค เสื้อชูชีพ และวิธีการล่องแก่งที่ปลอดภัย จากการสังเกต คิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ซึ่งไม่เพียงเป็นการสอดแทรกความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศิลปะแล้ว ยังปลูกฝังแนวทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และรักในถิ่นเกิดของตนเอง
  • เรื่องไม่เล็กของเด็กชายขอบ กับการสร้างกระบวนการเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการ
สำคัญเพราะ พื้นฐานจัดกิจกรรม หรือความรู้จิตวิทยาเด็ก ต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 6 กิจกรรมหลัก (ได้แก่ กิจกรรมการเคลื่อนไหว กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเกมส์การศึกษา และกิจกรรมเสริมจากสสวท.) เป็นแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเสริมเข้าไปใน 6 กิจกรรมหลักที่มีอยู่แล้ว ส่งผลให้ครูมีองค์ความรู้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถต่อยอดกิจกรรมตามสภาพแวดล้อมและภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตนเพื่อพัฒนาความรู้ของพ่อแม่ผู้ปกครองโดยให้มาเรียนรู้ร่วมกับเด็ก ซึ่งโรงเรียนจะคอยติดตามว่า ผู้ปกครองได้นำกิจกรรมไปกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กที่บ้านหรือไม่ 





วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 13
วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
นำเสนอวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (Scientific Research for Early Childhood
วิจัยเรื่องที่ 1 : การส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
ผู้วิจัย :  นางสาวจุฑารัตน์    วรรณศรียพงษ์
วัตถุประสงค์ของการทำวิจัย
  1. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการสังเกตสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น
  2. เพื่อให้นักเรียนนำทักษะที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
  1. เกมจับคู่ภาพเหมือน
  2. เกมจับคูภาพกับเงา
  3. เกมภาพตัดต่อ
  4. เกมสังเกตรายละเอียดของภาพ (เกมการสังเกต)
สรุปผลการวิจัย
  • จากการส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาพบว่าเด็กมีทักษะการสังเกตที่สูงขึ้น
วิจัยเรื่องที่ 2 : ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
ผู้วิจัย : ศศิพรรณ สำแดงเดช
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
  2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ทักษะที่เด็กได้รับ
  1. ทักษะการสังเกต
  2. ทักษะการจำแนกประเภท
  3. ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
วิจัยเรื่องที่ 3 : การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย : ชยุดา พยุงวงษ์
ความมุ่งหมายของการวิจัย
  1. เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนทดลองและหลังทดลอง
ทักษะที่เด็กได้รับ
  1. ทักษะการสังเกต
  2. ทักษะการจำแนกประเภท
  3. ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
  4. ทักษะการลงความเห็น
  5. ทักษะการพยากรณ์
วิจัยเรื่องที่ 4 : ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย : ยุพาภรณ์ ชูสาย , ดร.สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์ , ชูศรี วงศ์รัตนะ
ความมุ่งหมายของการวิจัย
  1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  2.  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง
ทักษะที่เด็กได้รับ
  1. ทักษะการสังเกต 
  2. ทักษะการจำแนกประเภท
  3. ทักษะการหามิติสัมพันธ์
  4. ทักษะการลงความเห็นข้อมูล
คำสำคัญ
  1. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  2. กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
วิจัยเรื่องที่ 5 : การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัย : สายทิพย์  ศรีแก้วทุม
เครื่องมือที่ใช้
  • แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ 40 แผน (8 สัปดาห์)
ทักษะที่เด็กได้รับ
  1. ทักษะการสังเกต
  2. ทักษะการจำแนก
  3. ทักษะการวัดปริมาณ
  4. ทักษะการลงความเห็น
  5. ทักษะการลงมิติสัมพันธ์
 วิจัยเรื่องที่ 6 : การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัย : เสกสรร มาตวังแสง
ความมุ่งหมายของการวิจัย
  1. เพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยจำแนกรายด้าน ดังนี้ การวิเคราะห การใชเหตุผล การสังเคราะห การประเมินคา
  2. เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ทักษะที่เด็กได้รับ
  1. ทักษะการฟัง
  2. ทักษะการสังเกต
  3. ทักษะการคิดแก้ปัญหา
  4. ทักษะการใช้เหตุผล
วิจัยเรื่องที่ 7 : การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัย : สายพิทย์  ศรีแก้วทุม
เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย
  1. แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล 5 ชุด
  2. แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  3. แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ
  4. แบบทดสอบการคิดอย่างมีเหตุผล
ทักษะที่เด็กได้รับ
  1. ทักษะการสังเกต
  2. ทักษะการจำแนก
เทคนิคการสอน
  1. การให้นักศึกษานำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน
  2. การจำคำสำคัญของวิจัย
  3. การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง
  4. การสรุป หาประเด็นที่สำคัญของงานวิจัย
การนำความรู้ไปใช้
  1. การที่เราจับประเด็นงานวิจัย ว่าเขาทำเพื่ออะไร และนำไปใช้อย่างไรสามารถนำมาใช้กับเด็กปฐมวัยได้
  2. ประโยชน์ของคำสำคัญของงานวิจัยนั้น ทำให้เรารู้ว่าวิจัยเรื่องนี้ต้องการอะไร หรือเวลาที่ไปหางานวิจัยจะได้สะดวกแก่การจดจำชื่อวิจัย
  3. นำวิจัยที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยมาปรับใช้ได้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก
การประเมิน
  • ตนเอง : 100% เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อยรองเท้าถอดวางเป็นระเบียบหน้าห้องเรียน ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์ได้อธิบายงานวิจัยเพิ่มเติม เปิดโอกาสให้ได้ซักถามเกี่ยวกับงานวิจัยเรื่องนั้นๆ
  • เพื่อน : 100% มีเพื่อนบางส่วนที่เข้าเรียนช้า เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน มีโต้ตอบ สนทนาพูดคุยกับอาจารย์เวลาอาจารย์ถาม เพื่อดูว่าเราเข้าใจไหม
  • อาจารย์ : 100% เข้าสอนตรงเวลา อาจารย์เปิดโอกาสให้ได้ถาม มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานวิจัยที่เพื่อนไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 12
วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาสอนหน้าห้องเรียนตามหน่วย ดังต่อไปนี้
1. หน่วยกล้วย (ชนิด) 
เพลงกล้วย
กล้วยหวานหวานนั้นมีหลากหลายใครบอกครูได้หนาว่ามีกล้วยอะไร
เพลงสวัสดี
สวัสดีเธอจ๋าสวัสดีชื่นชีวียิ้มแย้มแจ่มใส
มาพบกันวันนี้แสนดีใจรื่นเริงไปร้องรำให้สำราญ
วัตถุประสงค์

  1. บอกชนิด
  2. บอกจำนวน
  3. เปรียบเทียบน้อยกว่ามากกว่า
  4. หมวดหมู่
2. หน่วยไก่ (ลักษณะ)
- สังเกตสีของไก่
- บอกลักษณะไก่เจ้และไก่ต๊อก
- เปรียบเทียบความเหมือนต่าง (สังเกต)
- หาความสัมพันธ์
เพลงหลับตาเสีย

"หลับตาเสียอ่อนเพลียทั้งวันหลับตาฝันเห็นเทวดา
มาร่ายมารำงามขำโสภาพอตื่นขึ้นมาเทวดาหายไป "
3. หน่วยกบ (วงจรชีวิตของกบ L Ife ของกบ )


ภาพวงจรชีวิตของกบ



VDO: วงจรชีวิตของกบ

กบจำศีล: กบเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวอากาศหนาวเย็นมากและ
น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติแห้งขอดอาหารของกบกบขาดแคลนจะลดหรืออิสลามศึกษากิจกรรมต่างๆลงเพื่อความอยู่รอด กบจึงมุดดินลงไปนอนนิ่ง ๆ ไม่กินอาหาร โดยจะเรียกภาวะนี้ว่า "กบจำศีล"
4. หน่วยปลา (ประโยชน์และข้อพึงระวัง)
- เล่านิทานเรื่อง ชาวประมงกับปลากระพง
 5. หน่วยข้าว (การประกอบอาหาร)
การทำข้าวคลุกไข่
ส่วนผสม Ingredient
  1. น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ  (Fish sauce 2 table spoon)
  2. น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ  (Oil 2 table spoon)
  3. ต้นหอม 2 ช้อนโต๊ะ  (Onion 2 table spoon)
  4. แครท 2 ช้อนโต๊ะ  (Carrots 2 table spoon)
  5. ไข่ไก่ 4 ฟอง  (Egg 2 table spoon)
6.  หน่วยต้นไม้ (ชนิด)
คำคล้องจองเพลงต้นไม้ (Tree Music)
7.  หน่วยนม (ลักษณะ)
- นมมีรูปร่างเปลี่ยนไปตามสถานะที่ใส่
- ไหลจากที่สู่ลงสู่ที่ต่ำ
- นมมีหลายกลิ่น 
8.  หน่วยน้ำ (การอนุรักษ์)
- เล่านิทาน
9.  หน่วยมะพร้าว (การเจริญเติบโต) 
เพลงลมเพลมพัด
ลมเพลมพัด โบกสะบัดพัดมาไวๆ ลมเพลมพัดอะไร ลมเพลมพัดอะไร ฉันจะบอกให้...
10.  หน่วยผลไม้ Fruit (การประกอบอาหาร)

ผลไม้ผัดเนย

ส่วนผสม Ingredient
  1. ข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะ  (Corn 1 table spoon)
  2. สับปะรด 1 ช้อนโต๊ะ (Pineapple 1 table spoon)
  3. เนย 4 ช้อนโต๊ะ (Butter 1 table spoon)
  4. แอปเปิ้ล 1 ช้อนโต๊ะ (Apples 1 table spoon)
  5. ฝรั้ง 1 ช้อนโต๊ะ (Western 1 table spoon)
  6. น้ำผึ้ง (Honey)
  7. นมข้น (Cream)
  8. เยลลี่ (Jelly)


เทคนิคการสอน  (Teaching Techniques)
  1. สร้างข้อตกลงภายในห้องเรียน
  2. สรุป อธิบายเพิ่มเติมจากการสอนของนักศึกษา
การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications
  1. นำไปจัดแผนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
  2. สามารถนำมาบูรณาการในวิชาอื่นได้
ประเมินการเรียนการสอน (Evaluation of teaching)
  • ตนเอง: 100% : แต่งกายสุภาพเรียบร้อยมาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนที่ออกไปสอนหน้าชั้นเรียน
  • เพื่อน 100% : ทุกคนให้ความตั้งใจในการเรียน ฟังที่เพื่อนสอน เพื่อนที่ไปทำการสอนอาจมีตื่นเต้นบ้างแต่ก็คำแนะนำของอาจารย์มาปรับใช้
  • อาจารย์: 100% : เข้าสอนตรงเวลา มีการสอนที่ดี ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น

ครั้งที่ 11
วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)
แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546 ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่

  1. กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 
  2. สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
  3. การออกแบบกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ศึกษาเพิ่มเติม : แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย


กิจกรรมภายในห้องเรียน

การทดลองที่ 1 การจม - การลอย

  1. แจกดินน้ำมันให้กับนักศึกษาคนละ 1 ก้อน โดยให้แถวที่ 1 และแถวที่2 ปั้นดินน้ำมันให้เป็นก้อนกลมๆ นำดินน้ำมันที่ปั้นเสร็จเรียบร้อยไปลอยในตู้ที่จัดเตรียมไว้ให้แล้วสังเกตผลว่าเป็นอย่างไร
  2. ส่วนแถวที่ 3,4,5 และแถวที่ 6 ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปแบบใดก็ได้ ไม่ให้จม 
  3. นักศึกษาได้สังเกตว่าเป็นเพราะเหตุใดดินน้ำมันถึงลอยน้ำได้


วิดีโอศึกษาเพิ่มเติม : ดินน้ำมันจมน้ำได้อย่างไร


การทดลองที่ 2 การดูดซึม

  1. ให้นักศึกษาตัดกระดาษให้เป็นรูปดอกไม้แบบใดก็ได้ พร้อมตกแต่ง
  2. จับกลับของดอกไม้ที่วาดเสร็จเรียบร้อยแล้ว มาจับให้ให้ตูมและพับลงให้พอดี
  3. นำดอกไม้ของเราไปลอยให้น้ำ แล้วสังเกตผลที่เกิดขึ้น
  • ดอกไม้กระดาษลอยน้ำ (กระดาษ 100 ปอนด์)
กระดาษคลี่ออกช้า น้ำซึมซับเข้าไปในเยื่อที่มีความโปร่งอยู่แล้ว สีที่ตกแต่งเกิดการละลาย จึงทำให้เกิดการผสมสี

  •  ดอกไม้กระดาษลอยน้ำ (กระดาษ A4)
การดาษคลี่ออกไวมาก มีความสวยงามในขณะที่สีเกิดการผสมกัน
(เป็นการดูดซึม แบบต้นไม้) 
**ควรเลือกกระดาษหลายๆแบบ** 
- แบบซึมซับช้า
- แบบซึมซับไว 

 วิดีโอศึกษาเพิ่มเติม : ดอกไม้กระดาษลอยน้ำ


การทดลองที่ 3 แรงดันอากาศ

  1. เทน้ำใส่ขวดน้ำพลาสติกที่เตรียมมา โดยเจาะรูไว้ 3 รู คือ ส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนล่างพร้อมปิดรูด้วยสก๊อตเทป
  2. อาจารย์ให้นักศึกษาลองทายดูว่า รูส่วนตรงไหนที่น้ำไหลแรงสุด
  3. โดยเริ่มเปิดจากรูบนก่อน จากนั้นรูที่ 2 และรูที่ 3
  4. ผลปรากฏว่าเป็นรูที่ 3 ไหลแรงสุด เพราะเกิดจากแรงดันอากาศด้านบนที่เราได้ปล่อยน้ำไป จึงทำให้อากาศเข้ามาแทนที่




วิดีโอศึกษาเพิ่มเติม : แรงดันอากาศ


การทดลองที่ 4 กาลักน้ำ


วิดีโอศึกษาเพิ่มเติม : กาลักน้ำ


การทดลองที่ 5 แก้วครอบเทียน


วิดีโอศึกษาเพิ่มเติม : แก้วครอบเทียน


การทดลองที่ 6 การหักเหของแสง


วิดีโอศึกษาเพิ่มเติม : การหักเหของแสง


การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ (ศิลปะสร้างสรรค์)





ครั้งที่ 10
วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

(หยุดวันปิยะมหาราช)