สรุปงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย : ศรีนวล รัตนานันท์
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า :
- เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนก่อนและหลังการทดลอง
- เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติก่อนและหลังการทดลอง
- เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนกับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ
ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
การศึกษาครั้งนี้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกต อันเป็นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยให้แก่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางของครูในการพัฒนาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
- ประชากร : ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิงอายุระหว่าง 5 - 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2539 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี
- กลุ่มตัวอย่าง : กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษา เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิงอายุระหว่าง 5 - 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2539 โรงเรียนวัดวังกุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน แล้วจับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคลุม กลุ่มล่ะ 15 คน
- ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง : การทดลองครั้งนี้กระทำระหว่างภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2539 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที
- ตัวแปรศึกษา :
4.1. ตัวแปรอิสระ คือ รูปแบบการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์ ได้แก่
- การจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน
- การจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ
นิยามศัพท์เฉพาะ
- การจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์
- ทักษะการสังเกต
- เด็กปฐมวัย
- แผนการจัดประสบการณ์ ดังนี้
- แผนการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน
- แผนการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ
2. แบบการประเมินทักษะการสังเกต
ตัวอย่าง แผนการสอน
"หน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้"
ประกอบไปด้วย 3 กิจกรรม คือ
- แว่นขยายเห็นชัดแจ้ง
- แสงเป็นอย่างไร
- เสียงในธรรมชาติ
ครั้งที่ 1 กิจกรรม"แว่นขยายเห็นชัดแจ้ง"
จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกตในด่าน
- ลักษณะของแว่นขยายกับการส่องวัตถุ
- การกะประมาณขนาดของวัตถุ
สถานที่ บริเวณพื้นที่รอบอาคารเรียน
อุปกรณ์ 1. แว่นขยายสำหรับเด็ก 3 คนต่อ 1 อัน
2. กระดาษสำหรับบันทึกภาพ
3. ดินสอสีวิธีทำกิจกรรม
- ครูแนะนำกิจกรรมโดยกล่าวว่า "ครูจะพาเด็กๆ ออกไปสำรวจธรรมชาติรอบๆอาคารเรียนและให้เด็กๆ ใช้แว่นขยายส่องดูสิ่งที่น่าสนใจ"
- เด็กปฏิบัติการโดยใช้ประสาทสัมผัส
2.1. สำรวจบริเวณที่สนใจใช้แว่นขยายส่องดูรายละเอียดของสิ่งของต่างๆที่พบ
2.2. ใช้แว่นขยายส่องดูหิน ก้อนหิน ใบไม้ ดอกไม้ แมลง และอื่นๆ เพื่อดูลักษณะ รูปร่าง ส่วนประกอบให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
2.3. สังเกตขนาดของของจริงที่มองด้วยตาเปล่าและการใช้แว่นขยายส่องโดยการวาดภาพเปรียบเทียบ3. ขณะที่เด็กทำกิจกรรม ครูใช้คำถามประกอบการสังเกตดังนี้
- เด็กๆใช้แว่นขยายส่องดูอะไรบ้าง
- แว่นขยายทำให้เด็กมองเห็นวัตถุของจริงเป็นอย่างไร
- ขนาดของวัตถุของจริงที่มองเห็นตาเปล่าและมองโดยการใช้แว่นขยายส่อง มีขนาดเป็นอย่างไร4. สรุป
หลังปฏิบัติกิจกรรมแล้ว เด็กและครูร่วมกันสนทนาถึงผลการสังเกตจากกิจกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น