วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ

เรื่องไม่เล็กของเด็กชายขอบ 
กับการสร้างกระบวนการเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการ


  • สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ริเริ่ม “โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย” มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 เพื่อร่วมเป็นกำลังสนับสนุนโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้แนวทางการจัดอบรมครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ให้มีทักษะการจัดกิจกรรม บูรณาการสหวิชา ตลอดจนสนับสนุนสื่ออุปกรณ์การศึกษาต่าง ๆ เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ของเด็ก
  • “วิทยาศาสตร์ คือ กระบวนการแสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งครูสามารถใช้สิ่งแวดล้อมรอบตัว มาสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนโดยไม่ต้องมีห้องทดลองหรืออุปกรณ์ไฮเทคใด ๆ ขอเพียงให้เด็กได้ฝึกฝนกระบวนการคิดวิเคราะห์ การสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ และสรุปความรู้ ซึ่งเด็กสามารถนำไปใช้แก้ปัญหากับทุกเรื่องที่ต้องเผชิญต่อไปในอนาคต” ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าว
ผ่านกระบวนการสืบเสาะ  4  ขั้นตอน
  1. การตั้งคำถาม 
  2. การสำรวจตรวจสอบ 
  3. การตอบคำถาม 
  4. นำเสนอผลการสำรวจตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง
พัฒนาการเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ อย่างชัดเจนถึง 4 ด้าน
ภายหลังนำโครงการนี้เข้ามา คือ 
  1. ด้านร่างกาย เด็กมีการเคลื่อนไหว ตื่นตัวต่อการเรียนรู้ตลอดเวลา
  2. ด้านสังคม เด็กมีการทำงานร่วมกัน มีพัฒนาการทางสังคมในการอยู่ร่วมกัน รู้จักเคารพกฎ-กติกา 
  3. ด้านครอบครัว มีการพูดคุย และเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเด็กและผู้ปกครอง
  4. ด้านสติปัญญา เด็กค้นหาและค้นพบองค์ความรู้ด้วยตัวเอง แทนที่จะรอครูบอกเพียงอย่างเดียว
  • กิจกรรม ตามหาใบไม้...ที่บ้านแม่สลิดหลวงวิทยา
         กิจกรรมการเรียนรู้จากใบไม้ที่โรงเรียนบ้านสลิดหลวงวิทยา ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นตัวอย่างหนึ่งของกิจกรรมบูรณาการที่ให้เด็ก ๆ ได้ฝึกการสังเกตและวาดภาพใบไม้ ต่อยอดสู่การเรียนรู้เรขาคณิตจากรูปทรงของใบไม้ ตลอดจนช่วยกันคิดค้นเทคโนโลยีในการพิมพ์ลายใบไม้ให้เป็นศิลปะบนผืนผ้าอย่าง ง่าย ๆ 
        “เดิมเด็กไม่ได้ลงมือปฏิบัติก็ไม่ค่อยสนใจเรียน เสียสมาธิง่าย อีกอย่างเด็กอนุบาลที่นี่เป็นเด็กชาวเขา 100 เปอร์เซนต์ ครูก็สื่อสารยากเพราะไม่เข้าใจภาษาถิ่น เด็กก็ไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องมีครูภาษาถิ่นเข้ามาช่วย โชคดีที่มีเด็กบางคนรู้ทั้งสองภาษาก็จะช่วยเพื่อน บางทีก็ช่วยครูด้วยเหมือนกัน” ครูโสรดา พลเสน คุณครูอนุบาล 2/1 เล่าให้ฟังถึงปัญหาที่ผ่านมา “แต่พอนำเอาวิธีการสอนของสสวท. มาใช้ เราก็บูรณาการวิชาภาษาไทยเพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งวิชา ทำให้เด็ก ๆ มีปฏิสัมพันธ์กับครูมากขึ้น กระตือรือล้น กล้าคิด กล้าแสดงออกมากกว่าเดิมที่ต้องรอให้ครูบอกเพียงอย่างเดียว”
  • กิจกรรมแม่ละเมา...เขาชวนล่องแก่ง
         อีกหนึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กชายขอบให้สามารถ “ล่องแก่งอย่างไรให้ปลอดภัย” ซึ่งสอนเด็ก ๆ รู้จักและเรียนรู้ถึงประโยชน์อุปกรณ์ที่ใช้ในการล่องแก่ง เช่น ไม้พาย หมวกกันน็อค เสื้อชูชีพ และวิธีการล่องแก่งที่ปลอดภัย จากการสังเกต คิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ซึ่งไม่เพียงเป็นการสอดแทรกความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศิลปะแล้ว ยังปลูกฝังแนวทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และรักในถิ่นเกิดของตนเอง
  • เรื่องไม่เล็กของเด็กชายขอบ กับการสร้างกระบวนการเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการ
สำคัญเพราะ พื้นฐานจัดกิจกรรม หรือความรู้จิตวิทยาเด็ก ต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 6 กิจกรรมหลัก (ได้แก่ กิจกรรมการเคลื่อนไหว กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเกมส์การศึกษา และกิจกรรมเสริมจากสสวท.) เป็นแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเสริมเข้าไปใน 6 กิจกรรมหลักที่มีอยู่แล้ว ส่งผลให้ครูมีองค์ความรู้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถต่อยอดกิจกรรมตามสภาพแวดล้อมและภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตนเพื่อพัฒนาความรู้ของพ่อแม่ผู้ปกครองโดยให้มาเรียนรู้ร่วมกับเด็ก ซึ่งโรงเรียนจะคอยติดตามว่า ผู้ปกครองได้นำกิจกรรมไปกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กที่บ้านหรือไม่ 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น