วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557
ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)
ต้นชั่วโมงอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมความสัมพันธ์กัน
- อุปกรณ์
2.ไม้เสียบลูกชิ้น (Meatball Skewer)
3.กรรไกร (Scissors)
4.เทปกาว (Tape)
- วิธีทำ (How to )
1. ตัดกระดาษสีเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และพับครึ่งตามรอยปะ
2. วาดรูปในสัมพันธ์กันทั้งด้านหน้าและด้านหลังของกระดาษสี
3. นำไม้เสียบลูกชิ้นมาติดเทปกาวไว้ตรงกลางด้านในขและติดขอบด้านข้างของกระดาษสี
4.ทดลองหมุนแบบช้าๆดูและลองหมุนแบบเร็วๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงว่ามีอะไรเกิดขึ้น และการหมุนทั้งสองแบบแตกต่างกันอย่างไร
สิ่งที่ได้จากกิจกรรม
- เด็กได้ลงมือกระทำ ได้วางแผนมีความรู้เดิมสอดคล้องกับการปฏิบัติ
- เครื่องมือวิธีการคือการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
- ไม่คาดหวังชิ้นงานว่าจะออกมาสวยหรือไม่สวย
- มีขั้นตอนที่ง่าย ไม่ซับซ้อน
- เป็นของเล่นที่สอดคล้องกับวิชาศิลปะ
- การรับรู้ของแต่ละบุคคลจากประสบการณ์เดิม เกิดจากการสังเกตแสงที่มองเห็น คือ แสงที่กระทบวัตถุ (ปิงปอง) จึงทำให้มองเห็น คุณครูต้องศึกษาหาข้อมูลในเรื่องนั้น ครูและเด็กสามารถที่จะเรียนรู้ไปด้วยกัน เด็กได้ลงมือกระทำสร้างขึ้นมา การเรียนรู้โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน การสร้างสื่อให้เด็กได้ปฏิบัติทำใช้วัสดุเหลือใช้ในการปฏิบัติสื่อ
การทำเพลง (สื่อ)
- ได้ความรู้ เนื้อหา
- บอกเนื้อหาผ่านเพลง
- ปฏิบัติได้
- เกิดทักษะ
- จำง่าย
- มีคำคล้องจอง
- สนุกสนาน
- สอดคล้องกับความรู้ พัฒนาการ คุณลักษณะตามวัยธรรมชาติของเด็ก
นำเสนอบทความ ( Science Articles )
บทความที่ 8
1. เรื่อง เด็กๆอนุบาลสนุกกับสะเต็มศึกษาผ่านโครงการปฐมวัย : สสวท.
- การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยเน้นการนำความรู้และกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศกรรมศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้ผู้เรียนสามารถดำเนินชีวิตและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
S = วิทยาศาสตร์ (Science)
T = เทคโนโลยี (Technology)
E = วิศวกรรมศาสตร์ (Engineer)
M = คณิตศาสตร์ (Math)
มีแนวคิดหลัก 5 ข้อ คือ
- ครูต้องเน้นการบูรณาการ
- ครูต้องช่วยให้นักเรียนมีความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาที่กำลังเรียนชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ
- เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
- ท้าทายความคิดของผู้เรียน
- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความเข้าใจและความคิดเห็นที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
บทความที่ 9
2. ปฐมวัย ในการบูรณาการ 3 วิชา เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไรปี 56 : สสวท.
ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะแสวงหาความรู้ สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลและเด็กมีอิทธิพลจ่อสิ่งแวดล้อมเพราะเราทุกคนล้วนต่างใช้ทรัพยาการ
- ประโยชน์ที่ได้
- เด็กมีโอกาสค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเอง
- ตระหนักถึงการใช้ทรัพยาการ
- มีแรงบันดาลใจ
- ทำให้เกิดการต่อยอดพื้นฐาน
3.เรื่อง บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์ : Nationejobs
ประเทศที่มีชื่อเสียงด้านวิทยาศาสตร์อันดับต้นๆ ของโลก อย่าง "เยอรมนี" จะประสบปัญหาขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์
- ดร.ทอมัส ทิลล์มันน์ ผู้บริหารบริษัท McKinsey & Company ผู้ก่อตั้งโครงการ Haus der Kleinen Forscher หรือบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเมืองเบียร์เล่าว่า ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร เกิดจากกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียนขาดความน่าสนใจ ประกอบกับคนในครอบครัวไม่สอนตามวิถีทางที่ถูกต้อง จึงต้องหันมาปลูกฝังความรักและทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กชาวเยอรมันกันยกใหญ่
เทคนิคการสอน (Teaching methods)
- ให้ลงปฏิบัติทำสื่อการเรียนการสอน
- เปิดเพลงหลังทำกิจกรรม เพราะถ้าเปิดเมื่อขณะทำกิจกรรมนักศึกษาก็จะไม่ได้สนใจในเนื้อหาของเพลง
- เกิดทักษะการคิด การสังเกต ให้การทำกิจกรรม
การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)
- การหาเนื้อหาในการสอนต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
- สามารถนำมาบูรณาการในวิชาอื่น
- นำสิ่งของเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นที่เกิดประโยชน์
ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น