ครั้งที่ 6
วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557
ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)
- อาจารย์สอนทำ ของเล่นวิทยาศาสตร์ (Sciencetoy) คือ ลูกยางกระดาษ เกี่ยวกับการเอากระดาษมาตัดแล้ว ให้โยนขึ้น สังเกต (notice) ว่าถ้าตัดสั้นแล้วจะหมุนแบบไหน ถ้าตัดยาวแล้วจะหมุนแบบไหน
อุปกรณ์ (Equipment)
1. กระดาษสี (Color Paper)
2. คลิปหนีบกระดาษ (Paperclip)
3. กรรไกร (Scissors)
อาจารย์ได้แบ่งให้แถวที่ 1 และ 2 ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. นำกระดาษมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2. พับครึ่งของกระดาษลงมา
3. พับครึ่งของกระดาษลง โดยถึงจากที่พับไปครั้งแรก
4. ใช้กรรไกรตัดกระดาษ ตามรูป
5. พับส่วนที่เหลือเก็บให้เรียบร้อย และใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบ
Experiment (การทดลอง)
สาเหตุ : เกิดแรงโน้มถ่วงของตัดปีกสั้น และทำให้หนักในส่วนล่างลูกยางกระดาษที่หนีบคลิปกระดาษไว้ จนทำให้ลูกยางนั้นหมุนเป็นเกียวได้
อาจารย์ได้แบ่งให้แถวที่ 3,4 และ 5 ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. นำกระดาษมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2. พับครึ่งของกระดาษลงมา
3. ตัดกระดาษมาถึงที่พับครึ่ง ดังภาพ
4. พับส่วนที่เหลือเก็บให้เรียบร้อย และใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบไว้
Experiment (การทดลอง)
สาเหตุ : ปีกที่ยาว มีแรงเหวี่ยงเกิดการต้านทานของอากาศ ทำให้ล่วงหรือตกลงมาไว
นำเสนอบทความ ( Science Articles )
บทความที่ 11
1. เรื่อง แสงสีกับชีวิตประจำวัน : เพิ่มเติม
- แม่สี มีทั้งหมด 3 สี ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียว มาจากสีของดวงอาทิตย์ ใบไม้ดูดกลืน สีแดง สีน้ำเงิน แต่ไม่ดูดแสงสีเขียวเพราะมีคลอโรฟิลล์
- ถ้าวัตถุสีอะไรมันดูดสีนั้นหรือสะท้อนกลับ
บทความที่ 122. เรื่อง เงามหัศจรรย์ต่อสมอง : เพิ่มเติม
- ดร.วรนาท รักสกุลไทย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (แผนกอนุบาล)
- เงา คือส่วนที่มืดจึงทำให้เกิดแสง เด็กจะกลัวความมืดเพราะจะสร้างจินตนาการให้ตนเอง คุณครูอาจพาเด็กๆทำจึงที่เกี่ยวกับเงา เพื่อให้เด็กๆคลายความกลัว
- ทดลองจัดกิจกรรมให้เด็กเกี่ยวกับเงา
1. จัดนิทาน เช่น หนังตลุง
2. ยืน ที่ต่างเวลาทำให้เกิดผลที่แตกต่างกัน
- การจัดกิจกรรมที่หลากหลายตอบสนองกับความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก คือวิธีการเรียนรู้ ทิศทาง มิติสัมพันธ์ เวลากับเงาตำแหน่งของดวงอาทิตย์กับเงา นิทานทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ภาษา ส่งผลข้อมูลไปให้สมอง
บทความที่ 13
3. เรื่อง (Teaching Children about Environment Conservation) สอนลูกช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม : เพิ่มเติม
- การใช้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวของคนเราอย่างฉลาด และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่น สัตว์ พืช อากาศ ภูเขา ฯลฯ
- สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนและบ้าน
- สภาพแวดล้อมภายนอก
- สภาพแวดล้อมโดยตรง เช่น กำจัดขยะ,ปลูกต้นไม้
ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลก **พึ่งพาอาศัยกัน**
บทความที่ 14
4. เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย : เพิ่มเติม
- เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน เช่น รู้สี รู้รูปร่าง โดยรู้ทีละอย่าง จะเรียนรู้สองอย่างพร้อมกันไม่ได้ หรือเอามาผนวกกันไม่ได้
สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น 4 หน่วย ดังนี้ (สตาเคิล, 2542 : 12)
หน่วยที่ 1 การสังเกตโลกรอบตัว
หน่วยที่ 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
หน่วยที่ 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
หน่วยที่ 4 การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
บทความที่ 15
- เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการเล่น การปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และจากการได้ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ เช่น การฟัง การเห็น การชิมรส การดมกลิ่น การสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ
- ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science skills)
- ทักษะการสังเกต (Observing)
- ทักษะการวัด (Measuring)
- ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
- ทักษะการสื่อสาร (Communicating)
- ทักษะการลงความเห็น (Inferring)
- ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)
- ส่งเสริมให้คิดอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมทุกด้านของเด็ก
- อย่างน้อย 1 กิจกรรม / 1 การเรียนรู้
- การใช้คำถามของครูเป็นอีกอย่างที่สำคัญ
กิจกรรม : อาจารย์ให้นำ Mild Map ของนักศึกษาแต่ล่ะกลุ่มมาติดหน้าห้อง พร้อมได้ชี้แนะ ขั้นตอน การแตกประเด็นในหัวข้อ
กลุ่มที่ 1 : หน่วยข้าว (Rice)
กลุ่มที่ 2 : หน่วยไก่ (Chicken)
กลุ่มที่ 3 : หน่วยต้นไม้ (Trees)
กลุ่มที่ 4 : หน่วยน้ำ (Water)
กลุ่มที่ 5 : หน่วยปลา (Fish)
กลุ่มที่ 6 : หน่วยมะพร้าว (Coconut)
กลุ่มที่ 7 : หน่วยกล้วย (Banana)
กลุ่มที่ 8 : หน่วยนม (Milk)
กลุ่มที่ 9 : หน่วยกบ (Plane)
กลุ่มที่ 10 : หน่วยผลไม้ (Fruit) กลุ่มดิฉัน
- อาจารย์ได้แนะนำให้มีหัวข้อ Mild Map (Fruit) ดังต่อไปนี้
- ชนิด
- ลักษณะ ได้แก่ สี,ขนาด
- การประกอบอาหาร
- ประโยชน์ ได้แก่ เชิงพาณิชย์ (Commercial)
- ข้อพึงระวัง
เทคนิคการสอน (Teaching methods)
- ให้ลงปฏิบัติทำสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์
- เปิดโอกาศให้ถามคำถาม
- มีวิธีการ ขั้นตอนการเขียน Mild Map ที่ถูกวิธี
การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)
- การหาเนื้อหาในการสอนต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
- สามารถนำมาบูรณาการในวิชาอื่น
- นำสิ่งของเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นที่เกิดประโยชน์
ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)
- ตนเอง : 89% แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา ทำกิจกรรมได้เสร็จเรียบร้อยภายในเวลาที่จำกัด
- เพื่อน : 90% ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและทุกคนสามารถทำออกมาได้ดี อาจมีพูดคุยบางในบางครั้ง ทำงานที่ได้รับมอบหมายมาทุกกลุ่ม
- อาจารย์ : 98% เข้าสอนตรงเวลามาก มีกิจกรรมให้ทำอยู่เสมอ