วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทึกครั้งที่ 3



บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่ม 101

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ.2557

เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ

รูปแบบการเรียนเด็กปฐมวัย


           คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 - 5 ปี กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546


  • ธรรมชาติของเด็ก (3 - 5 ปี)
  1. พอใจกับคนที่ตามใจ
  2. มีช่วงความสนใจสั้น ประมาณ 8 - 10 นาที
  3. สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
  4. อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
  5. ชอบถาม "ทำไม" ตลอดเวลา
  6. ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
  7. ช่วยตนเองได้
  8. ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
  9. พูดประโยคยาวขึ้น
  10. ร้องเพลงง่ายๆ แสดงท่าทางเลียนแบบ

  • ทฤษฎีการเรียนรู้

1. การทดลองของ Pavlov (การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค)


2. การทอลองของ Watsons (การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน) ความรู้สึกบางอย่างที่มาตั้งแต่กำเนิด เช่น ความรัก ความโกรธ ความกลัว เป็นต้น


3. Pestalozzi (แนวการสอนจะเน้นในเรื่องประสบการณ์)



4. Froebel บิดาแห่งปฐมวัย “เด็กเปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการการพัฒนาให้งอกงามทั้งสติปัญญาร่างกาย จิตใจและสังคม การจัดการศึกษาที่ดี ต้องส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เต็มศักยภาพในทุกด้านอย่างมีความหมาย”

5. El - Kant (เป็นนักศึกษารุ่นใหม่) เด็กควรมีโอกาสเล่นและการเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง การเรียนรู็อย่างมีความสุข


สรุป...
       หลักการจัดการศึกษากปฐมวัย พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดจะต้องมีความสมดุลยึดเด็กเป็นสำคัญและต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน




การนำไปประยุกต์ใช้
  1. นำไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวัยของเด็กปฐมวัยตามพัฒนาการให้ครบทั้ง 4 ด้าน
  2. สามารถนำไปบูรณาการกับวิชาอื่นๆได้ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตสาสตร์ และภาษาไทย
  3. นำทฤษฎีต่างๆมาส่งเสริมและพัฒนาการกับเด็กได้

การประเมินการสอน
  • ประเมินตนเอง : 85% เข้าเรียนสาย ตั้งใจเรียนจดบันทึกเนื้อหาที่อาจารย์ได้ถ่ายทอดสู่นักศึกษา แต่บรรยากาศในห้องรียนตึงเครียดทำให้กดดัน
  • ประเมินเพื่อน : 88% เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถามบ้าง มีปรึกษากันหลังคาบการเรียนการสอน
  • ประเมินอาจารย์ : 92% เข้าสอนตรงต่อเวลา เทคนิคในการสอนดี แต่อาจทำให้นักศึกษาเบี่ยงเบนความสนใจ น่าจะมีกิจกรรมภายในห้องเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น